ช่วงหลังมีโอกาสได้มีส่วนร่วมในการสัมภาษณ์งานบ่อย เพราะทีมที่ทำอยู่กำลังอยู่ในช่วงขยายตัว ทำให้ต้องรับคนเพิ่ม
จุดที่น่าสนใจคือ การได้ฟังการแนะนำตัว
และเล่าประสบการณ์ของคนเจนใหม่ๆ
ซึ่งสามารถเล่าและตอบคำถามตามประสบการณ์ของตัวเองได้น่าสนใจ
เรื่อความสามารถของพวกเขานั้นมีมากมายอย่างไม่ต้องสงสัย
ซึ่งพอมีตัวเลือกมากเข้า ก็ทำให้จุดตัดจะไปอยู่ตรงที่
บุคลิกและลักษณะนิสัยจะตรงกับวัฒนธรรมของทีมได้หรือไม่เท่านั้นเอง
ซึ่งจุดนี้เป็นจุดที่ยาก เพราะเหมือนการลุ้นรางวัลที่ 1 เหมือนกัน
อันนั้นก็ต้องแล้วจังหวะการได้มาของการสมัครงานด้วย
.
อีกวิธีหนึ่งที่นิยมกันก็คือ การให้คนในชักชวนเพื่อนเข้ามาลองสมัคร
เพราะมีโอกาสที่จะมีดีเอ็นเอที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของทีมอยู่ไม่น้อย
ถือเป็นเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ สำหรับการเลือกคนให้ตรงกับวัฒนธรรมทีม
.
แต่จุดนั้นไม่ใช่ประเด็นรอง
เพราะประเด็นหลักที่จับข้อสังเกตได้ในการสัมภาษณ์ระยะหลังก็คือ
การที่ผู้เข้าสัมภาษณ์ตั้งคำถามกลับมายังผู้สัมภาษณ์มากขึ้น ฮาๆ
เป็นคำถามที่ไม่ได้เกี่ยวกับสวัสดิการอะไรแบบดั้งเดิม
แต่เป็นคำถามเชิงรุกทำนองว่า…
หัวหน้าที่เขาจะไปอยู่ด้วยมีลักษณะแบบไหน ทำงานเป็นอย่างไร
โครงสร้างและกระบวนการที่นี่มีหน้าตาแบบไหน
เจอปัญหาอะไรบ่อยที่สุด และอนาคตจะไปในทางไหนบ้าง
ซึ่งบางคำถาม คนทำงานในบริษัทยังไม่เคยตั้งคำถามเสียด้วยซ้ำ
.
ส่วนตัวมองได้สองแบบคือ
ผู้เข้าสัมภาษณ์เคยเจอประสบการณ์อะไรบางอย่างมาก่อน
หรือไม่ก็เป็นคนทำงานที่มีวิธีคิดด้านการลงทุนกับงานที่จะทำค่อนข้างสูง
.
ซึ่งส่วนตัวแล้ว คำถามเหล่านี้แม้ไม่ได้อยู่ในเกณฑ์หลักของการพิจารณาเลือกเข้าทำงาน แต่มันสะท้อนวิธีคิดบางอย่างของผู้สมัครได้เหมือนกัน
จนบางครั้งผู้สัมภาษณ์เองก็ตอบให้ได้ยาก
.
ที่เล่ามาก็อยากจะมาแชร์ประสบการณ์ร่วมสัมภาษณ์ในระยะหลังว่า
คนรุ่นใหม่มีความสามารถสูง กล้าคิดและตั้งคำถามได้อย่างน่าค้นหา
ซึ่งแน่นอนว่ายิ่งคุยไปคุยมาแล้วมีดีเอ็นเอที่สอดคล้องกับบริษัทเราก็ยิ่งยากได้ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะที่อื่นก็ยากได้พวกเขาเช่นกัน
เลยขอเอามาเล่าสู่กันฟังในแวดวงคนทำงานด้วยกันครับ

Podcaster : ออฟฟิศ 0.4
Writer : สิ่งที่เจ้านายไม่เคยบอก / เปิดเทอมใหญ่วัยทำงาน / เป็นคนที่ใช่ในงานที่ชอบ / นี่เงินเดือนหรือเงินทอน