ถามตอบเรื่องความสำเร็จของวัย 30 40

19 May 2022

สวัสดีชาวออฟฟิศ 0.4 ทุกคนครับ เผอิญมีโอกาสได้พูดคุยกับพี่เอม นภพัฒนจักร บรรณาธิการแห่ง WorkPoint TODAY ที่ได้มาคุยถึงประเด็นเรื่องการทำงานและความสำเร็จของช่วงวัย 20 30 และ 40 ซึ่งผมเลยนำประเด็นคำถามที่ถูกสัมภาษณ์มาเผยแพร่มามาให้ได้อ่านกันครับ

Q: ประเด็นความต้องการความสำเร็จในยุคนี้ของคน วัย 20,30,40 มีความผกผันมากกว่ายุคก่อน อย่างไรบ้าง

A: เร็วขึ้นเยอะ กว้างขึ้นเยอะ จากสื่อ เทคโนโลยี แพลตฟอร์ม ความหลากหลายอาชีพ การเข้าถึงความรู้ทางการเงิน การมีไอดอลตัวอย่าง 

Q: ช่วยให้มุมมองวิกฤตชีวิตวัยทำงาน เปลี่ยนผ่านจาก 30 สู่ 40 มีเรื่องอะไรบ้างที่น่ากังวล

A: สุขภาพทางกายและใจของเราค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปอย่างเงียบๆ โดยที่เราอาจไม่รู้ตัว ทั้งความรู้สึก กายภาพ และการเติบโตของผู้อื่นที่เราเอามากดดันตัวเอง และความเสี่ยงต่องานที่เพิ่มขึ้น ถ้าเราไม่พัฒนา เอาง่ายๆ แต่ก่อนตื่นมาดูบอลยุโรปได้สบาย ตอนนี้ไม่ไหว 

Q: การทำงานในช่วงวัย 20 , 30 , 40 มีจุดร่วม กับ ความแตกต่างอย่างไร (ทั้งมุมมองที่ดี และมุมมองที่น่าห่วงใย) เช่น ต้องได้ทำสิ่งที่ชอบมากขึ้นหรือไม่ , Work life Balance มีจริงหรือไม่ , ยุคหลังโควิด-19 ทำให้มุมมองแนวคิดของคนทำงานแต่ละเจนเนอเรชั่น แต่ละช่วงวัยเปลี่ยนแปลงมากขึ้นหรือไม่

A: วัย 20 ยังใช้โควตต้าความฝันได้ คือ ลองไปทำสิ่งที่ชอบ 

    วัย 30 ต้องอยู่กับความจริง 

    วัย 40 คือผลผลิตตลอด 20 ปีที่่ผ่านมา 

Q: โลกการทำงานของคนวัย 30 ที่จะเข้าสู่ 40 ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

A: เก็บเงินให้เยอะๆ 55 มีเงินเยอะๆ มีความสัมพันธ์ที่ดีเยอะๆ มีสุขภาพที่ดี ถ้ามองไม่เห็น ลองไปดูคนอายุ 40 ที่เราอยากเป็น เขาใช้ชีวิตยังไง ทำงานแบบไหน บริหารยังไง และลองมาปรับให้เป็นสไตล์เรา 

Q: ปัญหาสุขภาพจิต ที่ซ่อนอยู่ในคนทำงานวัย 20 , 30 และ 40 มีอะไรบ้าง เราจะรับมืออย่างไร?

A: ถ้าจิตตก หรือ เป็นซึมเศร้า ให้ยอมรับก่อน แล้วการไปพบแพทย์ก็เป็นเรื่องปกติ อยากแนะนำให้อ่านหนังสือ มนุษย์ซึมเศร้ากับเรื่องเล่าสีขาวดำ เหมือนกันนะ

Q: ที่ว่าถึงวัยหนึ่งของการทำงาน (ราว 40) เราต้องเรียนรู้ที่จะ “ละทิ้ง” ประสบการณ์เดิมๆออก ช่วยขยายความเพิ่มเติมส่วนนี้

A: จริงๆ เคยอ่านหนังสือ จงทิ้งงานไปครึ่งนึงเมื่ออายุ 40 ของโยชิโนริ จริงๆ คอนเซปต์ของเขา คือ การถ่ายทักษะบางอย่างที่จำเป็นต้องทำในช่วงวัย 20-30 ออกไป เพราะร่างกายของเรามันไม่เท่าวัยนั้น อารมณ์ต้องปรับความสามารถตามช่วงวัยนั้นแหละ เพราะถ้าเรายังมีความสามารถเท่าเดิมกับคนอายุ 20-30 ก็เสี่ยง อารมณ์เหมือนการ Rebalance Port ให้ชีวิตตัวเอง 

Q: หากพูดเฉพาะมนุษย์ทำงานช่วงวัย 30 ที่มักพูดกันว่าเป็นช่วงที่จะบอกหนทางชีวิตข้างหน้า และความสำเร็จบางอย่างได้ระดับหนึ่ง(หรืออาจจะไม่ต้องสำเร็จมากก็ได้) เราต้องให้ความสำคัญกับชีวิตและสนใจกับการทำงานในช่วงวัยนี้อย่างไร

A: แต่ก่อนเราจะมองไปข้างไหนค่อนข้างไกลอีก 5 ปี 7 ปี เราจะโตไปไหนยังไงได้ในองค์กร แต่เดี๋ยวนี้เอาแน่เอานอนอะไรไม่ได้เลย เราเลยมองระยะสั้น แต่เน้นเอา คือ ทำงานทำให้ดี นอนให้เต็มอิ่ม มีเงินเหลือเก็บไว้ลงทุน ศึกษาสิ่งอื่นๆ ควบคู่ไปเยอะๆ ใช้ต้นทุนเวลาให้เหมาะสมคุ้มค่าที่สุด เพราะ 30 เป็นช่วงพุ่งทะยานบนลู่ที่อาจเจอโค้งหักศอกได้เหมือนกันถ้าไม่ระวัง บวกกับประสบการณ์ส่วนตัวเคยล้มในห้องน้ำ ก็เลยรู้สึกว่า เป็น ตาย โคตรใกล้เลย

Q: จากเคสที่เริ่มพูดกันมากว่าวัยช่วง 30-40 ทุ่มเทการทำงานหนักจนป่วยหนัก มีโรคพวกเส้นเลือดสมองแตก แขนขาอ่อนแรง – มีความเห็นต่อสถานการณ์นี้อย่างไร มองว่า work life balance มีจริงหรือไม่ ในคนที่จะประสบความสำเร็จในช่วงวัยนี้

A: ประเด็นแรก ทำงานหนักจนป่วย ไม่ว่าใครจะมองยังไง ผมมองว่าสุดท้ายคือ เราบริหารร่างกายไม่ดี ไม่ใส่ใจ แถมไปเพิ่มภาระให้คนรอบข้างอีก ก็ต้องโทษตัวเอง

ส่วน Work Life Balance เป็นเรื่อถกเถียงกันมานาน ซึ่งผมมองว่าแล้วแต่สไตล์ ถ้าเราอยากมี Balance ก็ต้องถามว่าเราอยากมีทำไม เพราะเรามีภาระในชีวิตมากกว่าคนอื่นๆ ใช่ไหม หรือแค่ชอบเพราะจะทำงานได้ดีกว่า ถ้าใช่ก็ลองหาวัฒนธรรมองค์กรที่เขาใส่ใจเรื่องนี้ และเหมาะกับเรา

ส่วนเรื่องความสำเร็จมันพูดยาก เพราะผมเจอนายที่นิยามความสำเร็จต่างกัน คนแรกมองว่า คนทำงานเก่ง คือ คนที่กลับบ้านดึก ทำงานตลอดเวลา คนที่สองมองว่า ทำงานในกรอบเวลาได้ดี เลิกงานตรงเวลา ใช้ชีวิตในมิติอื่นได้ คือคนเก่ง ก็แล้วแต่นิยาม 

Q: ไอเดียแนวคิดการจัดการหน้าที่การงานในวัย 40

A: วัย 40 ถ้าเป็นฟุตบอลก็ครึ่งหลังแล้ว ช่วงเวลาที่เหลือ เราจะโหมหรือชิวๆ อยู่ที่ ผลงานครึ่งแรกเหมือนกัน แต่ถ้ายัง 0-0 ก็ต้องย้อนกลับไปดูที่เป้าหมายของเรา ซึ่งสำคัญมากนะ เพราะมันจะเป็นสิ่งที่ทำให้เรารู้ว่าจะเดินเกมยังไงต่อ

แต่ก็ชอบมีคนมาถามว่า ถ้าไม่มีเป้าหมายจัดการยังไง เอาแค่เรื่องพื้นฐานเลย ทำงานกินเงินเดือนบริษัท ก็ทำให้ได้ตามมาตรฐาน หรือ สูงกว่าความคาดหวังมาหน่อย ให้ได้เหมือนตอนที่เขาสัมภาษณ์เข้ามา ทำงานไปเรื่อยๆ มีเงินเดือน รับผิดชอบชีวิตได้ ดูแลคนในครอบครัวได้ ก็ไม่ผิด แต่อายุ 40 แล้ว ก็อย่าประมาท เพราะวัยนี้มันหางานยาก ยกเว้นคุณเป็นคนเก่งจริงๆ ที่ใครๆ ในตลาดก็ต้องการตัว ในตลาดแรงงานเราก็เป็นสินค้าอย่างนึงนั้นแหละ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *