ทำไมเพื่อนร่วมงานที่เราคิดว่าดีจึงทำสิ่งไม่ดี

2 August 2021

สวัสดีชาวออฟฟิศ 0.4 ครับ พอดีไปอ่านหนังสือ 2+2 = 5 ของ ดร.ยิ่งยศ เจียรวุฑฒิ ที่ได้เขียนถึงประเด็นศีลธรรมและจริยศาสตร์ที่มีประเด็นน่าสนใจมากมาย ซึ่งผมเลยขออนุญาตเอาบทที่ว่าด้วย ทำไมคนดีจึงทำสิ่งไม่ดี มาเล่าให้ทุกคนได้อ่านกันครับ

ในบท ทำไมคนดีจึงทำสิ่งไม่ดี เป็นคำถามที่หลายคนค้างคาใจ ซึ่งบทความนี้ได้มีการถอดองค์ประกอบการตัดสินใจของคนดีต่อการตัดสินใจทำสิ่งไม่ได้ด้วยครับ ซึ่งมีทั้งหมด 3 องค์ประกอบ ได้แก่

1. Time Pressure (ความกดดันทางเวลา)

2. Obedience to Authority (การปกคลุมของผู้มีอำนาจ)

3. Conformity Bias (อคติทำตามคนอื่น)  

Time Pressure (ความกดดันทางเวลา)

ประเด็นเรื่องของความกดดันทางเวลา นั้นเกิดจากการทดลองในปี 1973 จากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน โดยอาจาร์ยสองคือ Darley กับ Boston ด้วยการแกล้งนักศึกษาให้ไปนำเสนอพวกเขาที่อาคารอื่น ซึ่งจำเป็นต้องใช้เวลาในการเดินทางข้ามตึกไป โดยการแบ่งนักศึกษาไว้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีเวลามากในการเดินทางข้ามตึกกับกลุ่มที่มีเวลาน้อย โดยระหว่างทางอาจาร์ยได้ออกกลอุบายสร้างเหตุการณ์คนขอความช่วยเหลือระหว่างทาง ซึ่งหลังจบการทดลองลง พบว่า กลุ่มที่มีเวลามากจะตัดสินใจช่วยเหลือมากกว่าอย่างมหาศาล ส่วนกลุ่มที่มีเวลาน้อยมีเพียงแค่ร้อยละ 10 เท่านั้นที่ตัดสินใจช่วย ดังนั้น ปัจจัยเรื่องความกดดันเรื่องเวลา จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการตัดสินใจว่าจะช่วยเหลือหรือไม่ช่วยกับผู้คนซึ่งเป็นการทำดีอย่างนึงนั่นเอง

Obedience to Authority (การปกคลุมของผู้มีอำนาจ)

บทบาทของผู้มีอำนาจก็มาจากการทดลองอันเลื่องชื่อของ Milgram ในปี 1974 ซึ่งได้ทดลองให้คนแปลกหน้าสวมบทบาทเป็นนักวิทยาศาสตร์ แล้วเปิดรับกลุ่มทดลองเพื่อมาตอบคำถาม หากใครตอบผิดก็จะถูกลงโทษจากคำสั่งของนักวิทยาศาสตร์จอมปลอม ซึ่งการทดลองนี้ก็สะท้อนออกมาอย่างชัดเจนว่า หลายคนเชื่อคนแปลกหน้าที่เข้ามาสวมบทบาทเป็นผู้มีอำนาจในการสั่งให้ลงโทษโดยปริยาย ทำให้การทดลองนี้สะท้อนให้เราเห็นว่าบทบาทของผู้นำและผู้มีอำนาจนั้นส่งผลต่อการตัดสินใจในการทำผิดของคนทั่วไปได้โดยง่าย

Conformity Bias (อคติทำตามคนอื่น)  

ข้อนี้น่าจะใกล้เคียงกับชีวิตการทำงานของมนุษย์เงินเดือนแบบเราๆ มากที่สุด โดยได้มีการยกตัวอย่างว่า หากเราเห็นเพื่อนร่วมงานที่ทำงานได้ผลลัพธ์ที่ดี แต่ภายใต้ผลลัพธ์ที่ดีกลับมีความปกปิดความผิดพลาดบางอย่างที่ไม่อยากเปิดเผย แต่เราก็กลับอยากได้ผลลัพธ์ที่ดีแบบนั้นบ้าง จึงตัดสินใจทำตามโดยมองข้ามความผิดถูกที่เหมาะสมไป เพราะมีความเชื่อว่าเพื่อนเราทำได้ เราเองก็ต้องทำได้ ทำให้เกิดความรู้สึกผิดน้อยลง หรือคิดอีกแบบคือถ้าเราผิดเพื่อนเราก็โดนด้วย ทำให้เกิดการหารความรู้สึกผิดกันไปนั่นเอง

ทั้งหมดก็เป็น 3 เหตุผลที่มารองรับคำถามว่าทำไมคนดีถึงทำสิ่งที่ไม่ดี ที่เราเอามาฝากกัน จริงๆ ใครที่สนใจเนื้อหาด้านศีลธรรม และจริยธรรม ก็ลองหาหนังสือ 2+2=5 มาอ่านได้นะครับ ตามร้านหนังสือชั้นนำทั่วไปเลย อ้อ…แต่ตอนนี้ร้านหนังสือหลายแห่งปิด อาจลองสั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ก็ได้นะ

ถ้าชอบเนื้อหาแบบนี้ ฝากกดติดตามและกดแชร์เพื่อเป็นกำลังใจให้ด้วยนะครับ

อย่าลืมติดตาม PODCAST ออฟฟิศ 0.4

SPOTIFY : https://spoti.fi/38KKW19

APPLE : https://apple.co/2TXdzUr

SOUNDCLOUND : http://bit.ly/OFFICE04TH-SC

YOUTUBE : http://bit.ly/OFFiCE04TH-YT

PODBEAN : https://office04th.podbean.com/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *