ฟีดแบคอย่างไรให้บรรยากาศดีและคนฟังไม่รู้สึกพัง

24 September 2021

ท่ามกลางสถานการณ์ที่ขุ่นมัวทั้งเรื่องของการงาน การเงิน ชีวิต จิตใจ สิ่งเหล่านี้ล้วนจมอยู่ในชีวิตคนทำงานหนึ่งคนที่ใครหลายคนอาจรู้แต่ไม่ได้คำนึงถึง โดยเฉพาะเรื่องการฟีดแบคอย่างไรให้บรรยากาศดีและคนฟังไม่รู้สึกพังต่อการทำงานในช่วงเวลานี้ ที่อาจไปกระทบกับส่วนเปราะบางในชีวิตของคนทำงานก็ได้

การฟีดแบคจึงไม่ใช่แค่ทักษะแต่ยังเป็นศิลปะที่คนทำงานด้วยอาจต้องหัดเรียนรู้และเลือกที่จะสื่อสารเพื่อลดผลกระทบในเชิงลบให้น้อยที่สุด และเน้นผลลัพธ์เชิงบวกออกมาให้มากที่สุด โดยมี 4 เทคนิคที่ทำให้เราเตรียมความพร้อมการให้ฟีดแบคกับทีมได้แบบเน้นผลลัพธ์ออกมาที่ดีที่สุดอีกด้วย

1. สอบถามตัวเองก่อน

แท้จริงแล้วก่อนการให้ฟีดแบคกับพนักงานหรือทีม หัวหน้าหรือผู้นำควรต้องมีการเตรียมตัวด้วยการคุยกับตัวเองให้ชัดเจนก่อนว่า การให้ฟีดแบคครั้งนี้ตัวเราต้องการอะไรกันแน่ เป้าหมายของการให้ฟีดแบคครั้งนี้เราคาดหวังอะไร จากนั้นลองระบุประเด็นที่จะให้ฟีดแบคหรือสอบถามถึงผลลัพธ์ถึงความผิดพลาดออกไปว่ามีจุดไหนที่ต้องปรับปรุง ที่สำคัญแม้เราจะเป็นคนสื่อสารออกไป แต่เราก็จำเป็นต้องหัดเปิดใจฟังเหตุและผลของพนักงานหรือทีมด้วยเช่นกัน

2. ถูกที่ ถูกเวลา

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการฟีดแบคนั้นไม่ได้จะให้ความสำคัญแต่บุคคลที่เราจะสื่อสารด้วยอย่างเดียว แต่เราต้องคำนึงสภาพแวดล้อมอย่างเวลาและสถานที่ด้วยเช่นกันว่า สภาพแวดล้อมนั้นเอื้ออำนวยให้ผู้รับสารเปิดใจฟังกับสิ่งที่เขาผิดพลาดหรือบกพร่องหรือเปล่า รวมถึงสิ่งที่เราอยากให้เขาปรับปรุง ดังนั้น การฟีดแบคในประเด็นที่ละเอียดอ่อน จึงต้องหาสถานที่ที่มิดชิดและมีระยะที่เหมาะสมด้วยเช่น

3. แสดงออกให้ถูกคน

การฟีดแบคนั้นจำเป็นต้องแสดงความคิดและการแสดงออกให้ถูกคน เพราะอย่าลืมว่าคนรับสารนั้นต่างมีแบคกราวและทัศนคติที่แตกต่างกันออกไป  รวมถึงความเสี่ยงต่อการตีความหมายในสิ่งที่เราจะสื่อสารออกไปด้วย ดังนั้น การฟีดแบคสำหรับบางคนเลือกใช้ด้วยการไม่เผชิญหน้าและใช้วิธีการเขียนอีเมลด้วยการเลือกคำที่เหมาะสมสื่อสารออกไป บางคนก็เลือกที่จะสื่อสารกันต่อหน้าเพื่อให้เห็นสีหน้ากริยาท่าทางและเจตนาที่ชัดเจนมากกว่าจะสื่อสารด้วยตัวอักษรนั่นเอง

4. ติดตามผล

หลังจากมีการให้ฟีดแบคได้ถูกคน ถูกที่ ถูกเวลา แล้วลำดับถัดไปถือการติดตามผลในสิ่งที่ได้ให้ไป ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ไม่ว่าจะดีขึ้นหรือแย่ลง อย่าลืมเรื่องทักษะในการสื่อสารและศิลปะของการแสดงออกไปด้วย โดยสามารถใช้หลัก 3 R อย่าง

React คือ การแสดงออกด้วยการควบคุมอารมณ์อย่างเหมาะสม  

Reflect คือ การสะท้อนในสิ่งที่เกิดขึ้นว่ามีจุดไหนที่ดีและควรปรับปรุง

Respond คือ การยอมรับและขอบคุณต่อสิ่งที่ทีมพยายามแก้ไขให้ดีขึ้น

ทั้งหมดนี้คือพลังของฟีดแบคอย่างไรให้บรรยากาศดีและคนฟังไม่รู้สึกพัง ที่เราจำเป็นต้องใส่ใจ เพื่อเปลี่ยนสิ่งที่แย่ให้ดีขึ้น ไม่ใช่แค่ผลของงาน แต่เป็นเรื่องของจิตใจคนทำงานด้วยกันด้วยครับ

อย่าลืมติดตาม PODCAST ออฟฟิศ 0.4

SPOTIFY : https://spoti.fi/38KKW19

APPLE : https://apple.co/2TXdzUr

SOUNDCLOUND : http://bit.ly/OFFICE04TH-SC

YOUTUBE : http://bit.ly/OFFiCE04TH-YT

PODBEAN : https://office04th.podbean.com/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *