มองตัวเองให้เป็น Product แล้วหาจุดขายให้เจอ

2 March 2021

ใครเคยเล่น Lego ยกมือขึ้นหน่อยครับ

ผมเชื่อว่าในวัยเด็กของใครหลายคนน่าจะเคยเล่นตัวต่อ Lego ผ่านไม้ผ่านมือมาบ้าง ซึ่ง Lego ถือเป็นของเล่นที่โดยส่วนตัวผมชื่นชอบมากที่สุด เพราะมันหัดให้ผมได้ขยับจินตนาการจากการเป็นผู้สร้างและผู้เฝ้ามองผลงานของเพื่อนที่กำลังจินตนาการของเขาเช่นกัน.หลายเดือนที่ผ่านมา บังเอิญผมไปหยิบหนังสือสีเหลืองเล่มบางที่มีชื่อว่า ‘LEGO CULTURE’ ผมเปิดอ่านอย่างผ่านๆ ไปหลายหน้าจึงพบว่ามีความน่าสนใจ โดยเฉพาะคำโปรยหน้าสารบัญที่ถูกเขียนไว้ว่า .LEGO 5.0 เมื่อ ‘ของเล่น’ ยกระดับสู่ ‘วัฒนธรรม’

จากประสบการณ์ร่วมกับ LEGO ในวัยเด็กผมจึงตัดสินใจไม่ยากครับ ที่จะจ่ายเงินเพื่อครอบครองหนังสือเล่มนี้มาโดยพลัน .ภาพรวมของหนังสือเล่มนี้เล่าวิวัฒนาการตั้งแต่จุดกำเนิดของ LEGO ไปจนถึงการเปลี่ยนผ่านด้วยกลยุทธ์ต่างๆ ไปพร้อมกับงานวิจัย และการขยายสายผลิตภัณฑ์ออกสู่ท้องตลาดมากมายไม่ว่าจะเป็น ขนม สวนสนุก และภาพยนตร์ เป็นต้น

ทว่ากรณีที่ผมชื่นชอบเป็นพิเศษ และคิดว่ามีมุมคิดที่น่าจะนำมาปรับใช้กับคนทำงานได้นั่นคือ ช่วงที่ LEGO กำลังประสบปัญหาในตลาด เพราะเริ่มมีผู้ประกอบการรายอื่นก๊อปปี้ไอเดียไปสร้างผลกำไรและขโมยส่วนแบ่งทางการตลาดนั่นเองครับ เรียกได้ว่าจากการเป็นผู้นำในท้องทะเลอยู่ดี เผลอกแปปเดี๋ยวทะเลก็กลายเป็นสีแดงเสียแล้ว (Red Ocean)

ทีมผู้บริหารจึงต้องปรับกลยุทธ์กันใหม่ด้วยการวาง Brand Positioning ให้มีความโดดเด่นและทิ้งช่องว่างให้ขาดจากพื้นที่เดิมที่ทุกรุกล้ำ ส่งผลให้เกิด LEGO EDUCATION ซึ่งเป็นการเปิดน่านน้ำใหม่ (Blue Ocean) LEGO จึงไม่ใช่ของเล่นสำหรับเด็กทั่วไป แต่เป็นของเล่นเพื่อการศึกษา ซึ่งออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะของเด็กหลายด้าน

ไม่ว่าจะเป็น Critical Thinking , Problem Solving , Creativity and Innovation , Teamwork and Leadership ซึ่งรวมๆ แล้วเป็นทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 ที่เด็กทุกคนควรมีนั้นก็ถูกออกแบบผ่านของเล่นอย่าง LEGO ได้ทั้งหมด .ซึ่งเบื้องหลังจำเป็นต้องมีนักวิจัยและนักวิชาการมากความสามารถเป็นผู้ออกแบบด้วยเช่นกัน นี่คือความเหนือชั้นในการสร้าง Segment ใหม่และทิ้งช่องว่างให้ผู้ที่พยายามลอกเลียนแบบไม่สามารถไล่ได้ทัน

นี่คือเบื้องหลังการเกิดขึ้นของแบรนด์ของเล่นระดับโลกอย่าง LEGO ที่เคยประสบปัญหาแต่ก็พลิกสถานะกลับมาได้อย่างที่คู่แข่งรายอื่นๆ ตามได้ยาก .สิ่งที่ได้เรียนรู้จาก LEGO ในกรณีนี้มีอยู่ 4 ข้อที่คิดว่าคนทำงานสามารถนำไปปรับใช้คือ

1.เริ่มเช็คตัวเองว่า Positioning ที่ตัวเองมีอยู่นั้นสำคัญมากน้อยแค่ไหนต่องานที่ทำอยู่

2.ตำแหน่งที่เราทำนั้นคนอื่นสามารถเข้ามาทดแทนได้ง่ายหรือยากแค่ไหน

3.ถ้าง่ายจนอาจกลายเป็น Red Ocean ที่ใครๆ ก็สามารถแทนกันได้

4.จากคำถามข้อที่3 แล้วเราจะทำอย่างไรให้เราไปยืนอยู่ในน่านน้ำ Blue Ocean ที่โดดเด่น และแทนยาก

เอาเข้าจริงๆ ตอนเขียนบทความตอนนี้ผมก็พยายามทบทวนตัวเองอย่างหนักใจเหมือนกันครับว่าตำแหน่งงานกับงานที่ทำอยู่ตอนนี้ของเรามันมีความเสี่ยงถูกแทรกแซงมากน้อยแค่ไหน และตลาดงานในอนาคตข้างหน้าต้องการทักษะอะไร .แค่คิดก็รู้สึกถึงความเสี่ยงแล้วครับ เอาเป็นว่าอย่างน้อยวันนี้ก็เริ่มคิดได้เพื่อหาทางพัฒนาตัวเองกันต่อไป

แต่ถ้าใครคิดไม่ออกอยากบอกว่าใจเย็นๆ ครับ ถ้าตึงมากอาจลองไปหาซื้อ LEGO มาต่อเพื่อผ่อนคลายอารมณ์ เราอาจจะมีไอเดียดีๆ ระหว่างที่จินตนาการของเรากำลังทำงานกับของเล่นระดับโลกที่มีชื่อว่า LEGO ก็ได้ครับ

อย่าลืมติดตาม PODCAST ออฟฟิศ 0.4

SPOTIFY : https://spoti.fi/38KKW19

APPLE : https://apple.co/2TXdzUr

SOUNDCLOUND : http://bit.ly/OFFICE04TH-SC

YOUTUBE : http://bit.ly/OFFiCE04TH-YT

PODBEAN : https://office04th.podbean.com/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *