พนักงานเบิร์นเอาท์ว่าหนักแล้ว แต่ถ้าระดับเมเนเจอร์นั้นหนักกว่า เพราะว่าอะไรเราลองไปดูหน้าที่ของเมเนเจอร์กัน
ทำหน้าที่สื่อสารกับทีม
ขับเคลื่อนวัฒนธรรมองค์กร
สร้างปฏิสัมพันธ์ภายในทีม
ขับเคลื่อนโปรดักทีฟให้ทีม
สร้างความสำเร็จให้ทีม
เรียกง่ายๆ ว่าตำแหน่งเมเนเจอร์นี่คือ กระดูกชิ้นหลักขององค์กรเลยทีเดียว เพราะเป็นทั้งตัวหลัก ตัวเชื่อม ตัวขับเคลื่อน และคอยสร้างแรงกระตุ้นให้กับทีมอยู่เสมอ ภาระยิ่งใหญ่มาก
ภาวะเบิร์นเอาท์เกิดมาได้จากหลายสาเหตุมากๆ ไม่ว่าจะเป็น การแข่งขัน ความกดดัน ความคาดหวัง ความตึงเครียด สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบมาถึง อารมณ์ จิตใจ และร่างกายของเราทั้งนั้น
ทั้งหมดมันมีจุดเริ่มต้นมาจาก ความขัดแย้งจากการจัดลำดับความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น การไม่สามารถทำเป้าหมายให้สำเร็จไปตามที่คาดหวัง การนำทีมที่ไม่สำเร็จ ความป่วยจากร่างกาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อการบริหารงานที่ต้องทำทั้งนั้น
และเมื่อสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ถูกคลี่คลายปัญหา ก็เริ่มส่งผลต่อตัวเมเนเจอร์เอง รวมถึงบรรยากาศ และอาจส่งผลความรู้สึกต่อลูกน้องให้เกิดภาวะเบิร์นเอ้าท์ได้เช่นกัน เพราะเมเนเจอร์ไม่สามารถบริหารงานให้ดีได้
หลายคนคงมีคำถามในใจว่า ถ้าเราเป็นลูกน้องของเมเนเจอร์ หรือเพื่อนร่วมงานของเขา เราจะมีวิธีการเช็กอาการอย่างไร ซึ่งเรามีลิสต์อาการมาให้สังเกตดังนี้
* หัวร้อนง่าย
* ถอดใจ และถอนตัวกับงานไปง่าย ๆ
* ไม่แชร์ความรู้สึก
* ลางานบ่อย และเลื่อนงานบ่อย
* ไม่มีแรงผลักดันในการเติบโตในการทำงาน
* แสดงอารมณ์ที่ท้อแท้บ่อยครั้ง
เอาจริง ๆ นะว่า ส่วนใหญ่แล้วถ้าเจออาการแบบนี้ ก็เรียกได้ว่าเข้าขั้นวิกฤติกับงานที่ทำแล้ว แล้วถ้ามันยังกำเริบไปเรื่อย ๆ หนทางการยื่นใบลาออกก็อยู่ไม่ไกล ซึ่งถ้าเมเนเจอร์คนนั้นเก่งจริง องค์กรก็สูญเสียบุคลากรดี ๆ ในการขับเคลื่อนไปด้วย
วิธีการบรรเทาอาการเบิร์นเอาท์ของเมเนเจอร์ คือการเปิดพื้นที่เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน เพื่อให้ผู้มีอำนาจได้เข้าใจ และแก้ไขปัญหาถูก ซึ่งปัญหามันอาจมีมิติที่หลากหลาย เช่น ปริมาณงานที่โหลดเกินไป หรือจำนวนคนที่น้อยเกินไป และไม่ยอมอนุมัติให้เมเนเจอร์เสียที ปัญหาคลาสสิกที่มักจะเจอกันคือ กลัวแบกต้นทุนเยอะ แต่ก็อยากได้กำไรจากการทำสิ่งใหม่ ๆ
ส่งท้ายเล็กน้อยจากประสบการณ์ส่วนตัวที่เคยผ่านระดับเมเนเจอร์มา ซึ่งเป็นปัญหาที่เมเนเจอร์เจอคือ พวกเขาต้องการคนระดับใกล้กัน หรือเพื่อนกันมาร่วมคิดร่วมฟังปัญหาด้วย เพราะประสบการณ์นี้เคยเกิดขึ้นกับตัวเอง การมีเพื่อนคู่คิดจะช่วยได้มาก และเข้าใจในความคิด ความรู้สึกต่อการบริหารอารมณ์ และความคาดหวังที่ระดับบนส่งมาให้เราบริหารไว้นั่นเอง หวังว่าบทความนี้น่าจะเพิ่มมุมมองให้แก่คนทำงานระดับพนักงาน เข้าใจภาระที่เมเนเจอร์แบกเอาไว้ได้ไม่มากก็น้อย และอย่างน้อยก็น่าจะทำให้รู้ได้ว่า เมเนเจอร์ก็เป็นคนทำงานคนหนึ่งที่สามารถเหนื่อยและหมดแรงได้ไม่ต่างอะไรจากพวกเรา
อ้างอิง: บทความ Manager burnout and how to deal with it

Podcaster : ออฟฟิศ 0.4
Writer : สิ่งที่เจ้านายไม่เคยบอก / เปิดเทอมใหญ่วัยทำงาน / เป็นคนที่ใช่ในงานที่ชอบ / นี่เงินเดือนหรือเงินทอน