สวัสดีผู้อ่านทุกคนครับ เผอิญมีโอกาสไปอัด Podcast รายการ R U OK ของ The Standard มาเกี่ยวกับเรื่องชีวิตการทำงานในช่วงโควิด พอเห็นประเด็นคำถามก็คิดว่าน่าจะมีประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่น้อย เลยขอนำมาเขียนตอบในบทความด้วยอีกทางหนึ่งครับ
Q: สำหรับหลายคน มีความคิดว่างานที่ดี (หรืองานที่เหมาะสมกับตัวเรา) คืองานที่ท้าทายความสามารถเราประมาณหนึ่ง ได้งัดสกิลหลายอย่างขึ้นมาใช้ แล้วจริงๆ แล้วงานที่เหมาะกับตัวเราคืองานแบบไหนกันแน่
A: ถ้าตอบแบบโดยส่วนตัว เราจะให้สังเกตสิ่งที่เราสนใจรอบๆ ตัว แบบไม่มีเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ถ้ามีหลักการหน่อยสาย HR พฤติกรรมศาสตร์ เขาจะแบ่งจากเกณฑ์ DISC คือ
- Dominant มั่นใจ กล้าคิด กล้าตัดสินใจ ฟรีแลนซ์ นักการตลาด
- Influential ชอบเข้าสังคม ศิลปิน
- Steady ใจเย็น มั่นคง เป็นระเบียบ นัการเงิน
- Conscientious สมบูรณ์ ถูกต้อง นักกฏหมาย
ซึ่ง 1 คน สามารถมีมากกว่า 1 ข้อได้นะ อย่างผม ผมจะเป็น S+I กลายๆ 55
Q: ช่วงนี้หลายคนเกิดความเปลี่ยนแปลง ได้ Assignment ใหม่ๆ ในการทำงาน ทำให้เราต้องปรับตัว ใช้ทักษะที่ไม่เคยใช้ แล้วเราพบว่าตัวเองทำอะไรไม่ได้อีกหลายอย่าง แปลว่างานนี้ไม่ใช่งานที่เหมาะกับเราหรือเปล่า
A: ประเด็นนี้น่าสนใจและผมเชื่อว่าเกิดขึ้นกับทุกคน โดยเฉพาะในช่วง Covid-19 หลายคนออกมาเขียนและพูดไว้เลยว่า นี่คือโอกาสทองในการพิสูจน์คุณค่าและศักยภาพให้องค์กรเห็นว่า คุณเก่งมากกว่าที่พวกเขาคิดแค่ไหน ดีไม่ดี เชือดหัวหน้าได้ง่ายๆ จากผลงานในช่วงวิกฤต 55 ดังนั้น โจทย์จากวิกฤตมันเข้ามาแล้ว คำตอบแรกที่เราต้องตอบตัวเองก่อนว่า จะวัดกับมัน หรืออยู่เงียบๆ เพื่อโดนเขี่ยทิ้ง / การ Assignment งานใหม่ๆ ในช่วงนี้จึงเป็น New Normal ของทุกองค์กรที่เกิดขึ้น
ประเด็น การพบว่าตัวเราทำไม่ได้อีกหลายอย่าง ทำให้คิดว่างานนี้ไม่เหมาะกับเรา
ประเด็นนี้ผมมีปัจจัย 2 เรื่องหลักตลกๆ
– ถ้าเราอยากได้งานนี้ ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลของความมั่นคง ความคูล หรือรายได้ที่ดีงาม เราจะทำทุกอย่างเพื่อให้มันเหมาะสมกับเรา เช่น ยุคที่ใครๆ ก็อยากเป็น แอร์ฮอทสเตท สอบแล้วสอบอีก ฝึกว่ายน้ำทั้งๆ ที่ว่ายน้ำไม่เป็น เหมือนเราจะจีบใครสักคน เรา Want มากเลย เราจะหาทักษะที่ควรมีมาโดยอัตโนมัติ
– ประเด็นต่อมาเป็นเชิงโครงสร้างที่ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะผมก็เป็นหนึ่งในนั้น คือ เรื่อง Skill Mismatch การมีความสามารถที่ไม่ได้มีตลาดรองรับมากนัก เช่น คนเรียนจบภาพยนตร์มา 1,000 คน แต่มีตำแหน่งรองรับแค่ 100 ดังนั้น ทำให้เราต้องเอาความรู้เดิมมาประยุกต์กับงานอื่นๆ ด้วยทักษะการเรียนรู้ใหม่เพื่อดำรงอยู่
ดังนั้น ผมว่างานที่เราเข้าไปทำส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยเหมาะกับเรา เพราะจุดเริ่มต้นเราไม่ได้มาเพื่อสิ่งนี้ แต่ระหว่างทางจะทำให้เรารู้ว่าจริงๆ แล้วมันเหมาะกับเราไหม ซึ่งทำไปเรื่อยๆ DISC ของเราจะโผล่มาพร้อมกับผลของงานระหว่างทางที่จะบอกเราเองด้วย
Q: ถ้าเริ่มรู้สึกว่างานที่ทำอยู่เพิ่มดีกรีจากความท้าทาย จนทำให้รู้สึกยากเกินไป จะมีวิธีประเมินอย่างไรว่าเป็นที่ตัวเรา หรือเป็นที่งาน
A: ทำงานมาสักพักใหญ่ สิ่งหนึ่งที่เรียนรู้มากขึ้นคือ เราต้องมีการเขียน Brief ชีวิตการทำงานขึ้นมาประกอบด้วยเหมือนกัน ว่าวัตถุประสงค์ของเราคืออะไร เป้าหมายเราคืออะไร ผลลัพธ์เป็นอย่างไร เราเรียนรู้อะไรจากมัน / แต่ก่อนไม่เคยรู้จัก Podcast เลย แต่มีโอกาสมาทำ ก็เลยลองเขียนขึ้นมาว่าทำแล้วได้อะไรบ้าง ถ้ามันคุ้มก็ทำมันไปเถอะ จุดไหนที่พอประเมินได้ว่างานที่ทำอยู่ไม่ Healthy สำหรับเราแล้ว
ผมขออนุญาตตีความหมาย Healthy ที่อดีตหัวหน้าโทรมาด่าผมหน่อย 55
นั่นคือ ครอบครัว เพื่อนฝูง และตัวเอง
ถ้าเราทำงานไปสักพักแล้วเราเริ่มสังเกตว่า ไม่เจอในสมาชิกในครอบครัว ไม่เคยไปเจอเพื่อนฝูง จมอยู่แต่งานๆๆๆ นั่นแหละผมว่าสัญญาณของความพังเรื่อง Healthy ในชีวิต ถึงแม้ว่างานจะดีโคตรๆ แต่คุณก็ต้องแลกกับต้นทุนบางอย่างออกไปในชีวิต แต่คำถามที่สำคัญคือ เป้าหมายของคุณในชีวิตที่คุณจะไปถึง มันต้องมีพวกนี้แลกมาด้วยหรือเปล่า หรือถ้าไม่อยากแลกเราควรจะบริหารมันอย่างไรดี เช่น การมองหาอุตสาหกรรมที่เราเชี่ยวชาญ แต่มีวัฒนธรรมการทำงานที่เอื้อต่อชีวิตของเรา ก็ได้
Q: สุดท้ายแล้วเมื่อทางเลือกมีไม่มากในเวลาแบบนี้ การปรับทัศนคติที่ตัวเราหรือปรับที่งาน เรารู้ตัวเองได้อย่างไรว่าควรเลือกทางไหน
A:คิดว่าปรับที่ตัวเองเป็นสิ่งที่ควบคุมได้ง่ายที่สุดแล้ว เพราะตัวเอง คือ ตัวเรา คนเดียว แต่ ‘งาน’ มันไม่ใช่แค่งานที่ทำ มันมีองค์ประกอบอย่าง เจ้านาย ลูกค้า เออี เทคโนโลยี ซึ่งจะไปคุมทั้งหมดเพื่อให้เปลี่ยนที่เรามันยาก 55
Q:ถ้าเลือกการปรับทัศนคติที่ตัวเองว่า ‘ยาก’ ไม่ได้ทำเก่ากับว่าเรา ‘ไม่เก่ง’ เสมอไป เราควรเริ่มเปลี่ยนแปลงความคิดอย่างไร
A: ยอมรับผลลัพธ์ที่จะตามมาจากนี้ได้ไหมว่า ถ้าเราไม่เปลี่ยนแปลงตัวเอง เราจะมีชีวิตแบบนี้ เรายอมรับได้ไหม ถ้ายอมรับได้อยู่ได้ ก็ดำเนินชีวิตไปตามนั้น แต่ในขณะเดียวกันคุณก็จะถูกเพื่อนร่วมงาน น้องที่ทำงาน หรือน้องฝึกงาน ทิ้งความสามารถออกไปเรื่อยๆ จนคุณนับวันรอได้เลยว่าคุณจะเป็นลูกน้องพวกเขาในอนาคตแน่ๆ ถ้าไม่ถูกไล่ออกไปเสียก่อน
หมายเหตุ: สัมภาษณ์ผ่านPodcast รายการ R U OK
อย่าลืมติดตาม PODCAST ออฟฟิศ 0.4
SPOTIFY : https://spoti.fi/38KKW19
APPLE : https://apple.co/2TXdzUr
SOUNDCLOUND : http://bit.ly/OFFICE04TH-SC
YOUTUBE : http://bit.ly/OFFiCE04TH-YT
PODBEAN : https://office04th.podbean.com

Podcaster : ออฟฟิศ 0.4
Writer : สิ่งที่เจ้านายไม่เคยบอก / เปิดเทอมใหญ่วัยทำงาน / เป็นคนที่ใช่ในงานที่ชอบ / นี่เงินเดือนหรือเงินทอน