ต้องเข้าใจก่อนที่จะพูดออกไป
อย่าคิดว่าใช้คำยาก ๆ แล้วจะเท่ แต่ให้ใช้คำง่าย ๆ ที่คนฟังเข้าใจ
คิด กับ นึก คนละอย่างกัน คิดคือ อนาคต นึก คือ อดีต
วิธีใช้งานความคิด คือ จัดสภาพแวดล้อมให้ดี และจดสิ่งที่คิดไว้ออกมา
ถ้าไม่ทำแบบนั้น ความคิดจะวนเวียนตีคลุมไปกับสิ่งที่นึกขึ้นได้ไปเรื่อย ๆ จนแยกไม่ออก
เอาละมาถึงวิธีการสำคัญที่คุณ อุเมดะ ซาโตชิ ครีเอทีฟมือรางวัล มาเผยแล้วว่าเขามีวิธีดึงความคิดออกมาใช้ด้วย 3 วิธีดังนี้
1. เขียนความคิดออกมา
วิธีนี้คุณ อุเมดะ ซาโตชิ บอกว่าจะช่วยให้เราหลุดกับดักทางความคิดได้หลายประการเลยครับ เช่น
– คิดว่าตัวเองคิดดีแล้ว
– คิดไปเรื่อย ๆ จนลืมสิ่งที่คิดไว้ตอนแรก (และมักเป็นไอเดียที่ดีซะด้วย)
– คิดฟุ้งไปเรื่อยเปื่อย จนปะติดปะต่อกันไม่ได้
เมื่อเป็นแบบนี้ วิธีการเขียนออกมาจึงเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอย่างมาก ด้วยการใช้กระดาษ A4 หรือ โพสต์อิทก็ได้ครับ
คิดอะไรออกก็ขอให้เขียนไปก่อน ไม่ว่าจะเป็นคีย์เวิร์ด คำถาม หรือข้อสงสัย ให้เขียนลงไปเรื่อย ๆ จนกว่าความคิดเราจะเหลือน้อยที่สุด
2.สำรวจความคิดอีกครั้ง
หลังจากจบข้อแรกไปแล้ว ให้คุณอุเมดะแนะนำให้เรารวบรวมกองความคิดที่เราเขียนไว้ และแบ่งประเภทออกเป็นกลุ่มก้อน ซึ่งหากใครเคยเรียนวิชา Design Thinking น่าจะพอนึกกระบวนการเหล่านี้ออก แล้วพอแบ่งเป็นกลุ่มได้ เราก็พอจะเห็นทิศทางของความคิดที่พรั่งพรูออกมาแล้วว่า จะต่อยอดอย่างไรดี
3. ต่อยอดความคิดเหล่านั้น
การต่อยอดความคิดหลังจากจัดกลุ่มไว้แล้ว สามารถทำได้หลากหลายวิธีมากครับ เช่น
– การตั้งคำถามว่า “ทำไม” ใส่ลงไปในกลุ่มความคิดนั้น
– การหาคำตอบจากความคิดของผู้อื่น ให้เกิดความแตกต่างจากความคิดเรา
– การลองหาความคิดหรือคำตอบขั้วตรงข้ามที่น่าจะเป็น มาเพิ่มมิติให้เราเห็นโอกาส
สุดท้าย กระบวนการบริหารวงจรทางความคิดเหล่านี้ ที่คุณอุเมดะ ซาโตชิ แนะนำไว้ จะช่วยให้เราสามารถก้าวข้ามกำแพงของตัวเองได้ 6 มิติ คือ
1. กำแพงอคติ
2. กำแพงของงาน
3. กำแพงด้านทักษะ
4. กำแพงด้านเวลา
5. กำแพงความเชื่อในอดีต
6. กำแพงความไม่ถนัด
ทั้งหมดคือสิ่งที่คุณ อุเมดะ ซาโตชิ แนะนำไว้ ซึ่งเป็นสิ่งที่จับต้องและนำไปทำได้ และสิ่งสำคัญที่ยากกว่านั้นคือ การเริ่มต้นที่จะทำ โดยเราต้องหาเวลาในการที่จะทบทวนเพื่อตกผลึกทางความคิดในการต่อยอดเพื่อให้เห็นโอกาสอีกมากมายที่อยู่ในความคิดของเราออกมาอย่างเป็นรูปเป็นร่าง
และที่สำคัญ ความคิดนั้นมีอิทธิพลต่อชีวิตเราเป็นอย่างมาก ถ้าเราจับความคิดที่ใช่ในเวลาที่ถูกต้อง เราจะสามารถเติบโตและก้าวหน้าได้มากกว่าเดิมในแบบที่ควรจะเป็น
ที่มา: หนังสือ คนเก่งคิดแบบนี้ไง พูดอะไรก็รู้เรื่อง สนพ. บิงโก


Podcaster : ออฟฟิศ 0.4
Writer : สิ่งที่เจ้านายไม่เคยบอก / เปิดเทอมใหญ่วัยทำงาน / เป็นคนที่ใช่ในงานที่ชอบ / นี่เงินเดือนหรือเงินทอน