หลังผ่านเหตุการณ์การช่วยเหลือทีมฟุตบอลหมูป่าและโค้ชเอกในถ้ำหลวง จังหวัดเชียงราย แน่นอนว่าชื่อของ อีลอน มัสก์ ได้เข้าไปอยู่ในความทรงจำของใครหลายคนทั้งที่ติดตามผลงานของเขาอยู่ก่อนแล้วและเพิ่งได้รู้จักกับเขาในวันที่ต้องการความช่วยเหลือ
แน่นอนว่าผลงานในการทำงานของอีลอน มัสก์ ไม่ธรรมดาจนเขาถูกจัดให้อยู่ในข่ายของนวัตกรเชิงความคิดสร้างสรรค์ผู้สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้แก่โลกได้ในระดับเดียวกันกับ โทมัส อัลวาเอดิสัน มารี คูรีย์ ทิม บราวน์ และสตีฟ จ๊อบ ฯลฯ จากผลงานการสร้างงานนวัตกรรมมากมายตั้งแต่
อุตสาหกรรมด้านการเงินดิจิทัลอย่าง PayPal
นวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์อวกาศอย่าง SpaceX
นวัตกรรมในอุตสาหกรรมยานยนต์อย่าง Tesla
และเครื่องการเดินทางด้วยความเร็วสูงอย่าง Hyperloop เป็นต้น
สิ่งหนึ่งที่ทำให้เราสนใจในตัวของอีลอน มักส์ คือ ความหลากหลายในความคิดที่สามารถนำมาเชื่อมโยงและบูรณาการจนเกิดสิ่งใหม่ที่อาจมีคนเคยคิดและไม่กล้าเท่าเขาที่จะลงมือทำให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้นบนโลกใบนี้ ซึ่งอีลอนนั้นมีหลักคิดคือการห้ามคิดเหมือนคนทั่วไป และหมั่นที่จะหาไอเดียใหม่ๆ ในมุมที่คนอื่นเขาไม่มองกัน แนวคิดนี้ถูกยืนยันจาก จัสติน มัสก์ อดีตภรรยาของอีลอนที่หย่าร้างกันไป
การที่อีลอน มัสก์ และบุคคลสำคัญของโลกในเบื้องต้นที่เอยถึงไปนั้นมีจุดร่วมที่น่าสนใจด้วยกันอยู่ 3 อย่างในการขับเคลื่อนความคิดให้ขยับทำงานอยู่เสมอคือ
1. เลื่อนความกระตือรือร้นออกไปสักพัก
เอาจริงอ่านดูแล้วมันออกไปในเชิงลบหน่อยๆ แต่ในปี ค.ศ 1962 แกรแฮม วอลเลซ นักจิตวิทยาได้ออกแบบแนวทางต่อความคิดสร้างสรรค์ไว้ 5 ขั้นตอน โดยหนึ่งในนั้นคือการบ่มเพาะความคิดสร้างสรรค์ซึ่งถือเป็นขั้นตอนสำคัญของประเด็นนี้ การบ่มเพาะนี้คล้ายกับการลองเว้นช่องว่างระหว่างความคิดของเรากับงานที่ทำไว้ก่อน
แกรมแฮม ระบุว่า วิธีการเช่นนี้จะทำให้จิตใจของเราเกิดการบ่มเพาะไอเดียด้วยการเชื่อมโยงต่อสิ่งต่างๆ เข้าหากัน นี่คือกระบวนการของการเลื่อนความกระตืนรือร้นออกไปสักพัก
เอาจริงๆ วิธีนี้คนที่ทำงานด้านเขียนบทหรือต้นฉบับหนังสือ ก็เคยใช้ด้วยการโยนต้นฉบับใส่ในลิ้นชักสัก 2 – 3 วัน แล้วค่อยกลับมาอ่านใหม่อีกครั้ง ถึงจะเห็นข้อผิดพลาดจากสิ่งที่คิดและทำลงไปก่อนหน้านั้น
2. การใช้นำศาสตร์ที่แตกต่างมาผสมกัน
อีลอน มัคส์ ก็เป็นคนปกติที่ชอบเสพหนังสือและภาพยนตร์ทั่วไปแบบที่ใครๆ ก็ดูกัน เช่น หนังสือชื่อดังอย่าง Lord of The Ring หรือ Twelve Against The Gods แต่อีลอนเป็นนักคิดที่สามารถนำศาสตร์ต่างๆ อาทิ การออกแบบ วิศวกรรม มาผสมผสานกับ ดนตรี อาหาร จนออกมาเป็นผลงานที่พิเศษเฉพาะด้านอยู่บ่อยๆ
3. กล้าที่จะเป็นผู้ริเริ่ม
เอ็ด แคทมุล ประธานของพิกซาร์เคยเขียนไว้ในหนังสือ Creativity,Inc เกี่ยวกับความกล้าต่อการเป็นผู้ริเริ่มไว้ว่า
ความกลัวของพวกเราต่อการที่จะสร้างในสิ่งที่ไม่มีอยู่ให้ดำรงอยู่นั้น คือการใช้ทักษะและความรู้โดยปราศจาการทำซ้ำ เพื่อประดิษฐ์สิ่งใหม่ให้เกิดขึ้นนั่นเอง
และยังทิ้งทายไว้ว่าถ้าคุณยังอยากจะทำงานด้านความคิดสร้างสรรค์ที่ยอดเยี่ยมบนหนทางเดิมๆ คุณต้องอาศัยความหลากหลายของโปรเจกต์หรือไม่ก็งานอดิเรกที่คุณชื่นชอบ
ทั้งสามข้อนี้จึงเป็นจุดร่วมของนักคิด และนวัตกรที่มีความกล้าที่จะเป็นผู้ริเริ่ม ไม่ว่าจะเป็นการตั้งคำถาม ต่อสู้กับความเป็นไปได้ด้วยการทดลองในสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นให้เกิดเป็นทั้งทฤษฎีหรือชิ้นงานนวัตกรรมใหม่ๆ มาขับเคลื่อนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ความหวัง และแรงบันดาลใจมาหมุนเวียนโลกใบนี้ต่อไป
อ้างอิงช้อมูลและภาพ: Inc.com และ Businessinsider
อย่าลืมติดตาม PODCAST ออฟฟิศ 0.4
SPOTIFY : https://spoti.fi/38KKW19
APPLE : https://apple.co/2TXdzUr
SOUNDCLOUND : http://bit.ly/OFFICE04TH-SC
YOUTUBE : http://bit.ly/OFFiCE04TH-YT
PODBEAN : https://office04th.podbean.com/

Podcaster : ออฟฟิศ 0.4
Writer : สิ่งที่เจ้านายไม่เคยบอก / เปิดเทอมใหญ่วัยทำงาน / เป็นคนที่ใช่ในงานที่ชอบ / นี่เงินเดือนหรือเงินทอน