หัวข้อนี้ถือเป็นประเด็นที่ใหญ่และละเอียดอ่อนมากๆ เลยนะเว้ย ลองคิดดูว่าพนักงานตัวเล็กๆ อย่างพวกเราทุ่มเทและใส่ความตั้งใจกับงานที่ได้รับมอบหมายเพื่อหวังว่าจะสร้างผลงานและความเชื่อมั่นเพื่อส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในหน้าที่การงานในอนาคต แต่กลับโดนเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้าขโมยไอเดียหรือเคลมว่าผลงานนี้มาจากตัวเขาเองกลางวงห้องประชุมท่ามกลางสายตาของคนอื่นๆ นี่เป็นอะไรที่เจ็บปวดชิบหาย….
จะหันหน้าไปฟ้องหัวหน้าก็รู้สึกไม่ปลอดภัยเพราะกลัวภัยการเมืองคลื่นใต้น้ำ ไม่รู้ว่าใครอยู่ฝั่งใคร จะหันไปบอกเพื่อนร่วมงานเดี๋ยวแม่งก็เอาไปเม้าท์มอยหาว่ากูไม่สตรองที่จะอยู่ที่นี่ คิดจะไปพึ่งพระสงฆ์องค์เจ้าก็เดาว่าท่านก็คงบอกให้โยมละทิ้งความโลกมุ่งสูงทางธรรม โอ้ยยยย…แม่งเหลือทางเดียวคือการพิมพ์เข้ากูเกิ้ลแม่งเลย!
และแล้วผมก็พบกับผู้ใหญ่สองคนที่พอจะปรึกษาเรื่องนี้ได้ คนแรกชื่อ Karen Dillion คนนี้เคยเขียนเรื่อง Guide to Office Politics ถ้าให้ตั้งชื่อเป็นภาษาไทยก็แนวๆ สงครามการเมืองในออฟฟิศอ่ะ ส่วนคนที่สองชื่อ Brian Uzzi เฮียคนนี้เคยเขียนบทความลงใน Harvard Business Review ชื่อ Make Your Enemies Your Allies ลองไปฟังคำแนะนำจากการโดนขโมยเครดิตการทำงานจากเฮียสองคนกันหน่อยก็ดี เผื่อจะได้ใจเย็นๆ กัน ถ้าพร้อมแล้วไป!
ใจเย็นไอ้น้อง…ใจเย็น
เฮีย Uzzi เตือนก่อนเลยว่า ทันทีที่เรารู้ว่ามีคนขโมยหรืออ้างอิงผลงานของเราไปนั้น การเรียกมาคุยโดยทันทีแบบอารมณ์ยังคั่งค้างนี่เป็นอะไรที่แก้ไขไม่ถูกวิธี ทางที่ดีคือการปล่อยให้จิตใจและอารมณ์ของเราเย็นลงก่อนจะดีกว่า ส่วนพี่ Dillion แกก็บอกว่าช่วงที่เราโมโหนั้นเป็นช่วงที่ระบบประสาทจะทำงานในการแก้ไขปัญหาไม่ค่อยเวิร์กเท่าไหร่ ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงการโต้เถียงหรือการปะทะจะดีกว่า สรุปง่ายๆ ว่าถอยมาตั้งหลักเพื่อตรวจสอบหลักฐานอื่นๆ ก่อนจะพลีพลามนะ
ลองประเมินสถานการณ์
อันนี้โคตรสำคัญถ้าเปรียบว่าเป็นนักมวยก็ต้องมีการดูเชิงกันก่อน ซึ่งพี่ Dillion ก็บอกว่าคนส่วนใหญ่แม่งชอบสรุปรวมและคิดไปในทางของตัวเองไปเลย ซึ่งมันมีความเสี่ยงอยู่สองทางคือ ทำให้ตัวเราเองนั้นดูแย่ไปเลยแถมยังทำให้ศัตรูดูดีอีก เฮีย Uzzi เล่าเขาเคยเห็นสถานการณ์แบบนี้มาก่อนในการนำเสนอหน้าชั้นของนักศึกษา ช่วงแรกในการนำเสนอพวกเขาใช้คำว่า ‘พวกเรา’ ซึ่งแสดงถึงการมาเป็นกลุ่มหรือในฐานะตัวแทน แต่พอถึงช่วงสำคัญคือการนำเสนอแก่นไอเดีย บางคนกลับใช้คำว่า ‘ฉัน’ ซึ่งแสดงถึงการเป็นเจ้าของไอเดียเหล่านั้นไปโดยปริยาย (เหนือชั้นจริงๆ สัส)
ถามว่าเมื่อเจอการขโมยไอเดียหรือเครดิตการทำงานไปต่อหน้าต่อตาเราต้องทำยังไง เฮีย Uzzi บอกว่าให้ลองบันทึกว่าถ้าเรามีโอกาสคุยกับโจทย์ของเรา เราจะคุยกับเขาว่าอะไร แล้วก็ถามตัวเองว่า
เรื่องแบบนี้มันเกิดขึ้นมาบ่อยแค่ไหนแล้ว?
แล้วเหตุการณ์แบบนี้มันส่งผลต่อหน้าที่การงานกูป่าว?
นอกจากนั้น พี่ Dillion อธิบายเพิ่มว่า จริงๆ แล้วทุกชิ้นงานไม่จำเป็นต้องมีชื่อเราเสมอไปก็ได้ บางคนคิดว่าการทำงานคือผลงานของทีมโดยรวม และภาวนาว่าหัวหน้าของเราจะมองเห็นความสำคัญของการเป็นทีม (อันนี้แม่งเสี่ยงมาก ถ้าหัวหน้าชั่วขึ้นมาละจบเลยนะพี่ Dillion)
ทำไม ทำไม ทำไม
เฮีย Uzzi แทนที่จะกล่าวหากัน ควรกลับไปตั้งคำถามกับเพื่อนร่วมงานก่อนนะ ปล่อยให่เขาอธิบายว่าทำไมเขาถึงขโมยเครดิตผลงานของเราไป คุณอาจจะลองถามว่า เฮ้ย! เพื่อนมึงรู้สึกไงเวลาผลงานมึงโดยขโมยไปแบบไม่บอกกล่าวอ่ะ ซึ่งวิธีการแบบนี้นับเป็นกลยุทธ์ในการเจรจาลดความก้าวร้าวลงได้เช่นกัน และยังทำให้เพื่อนร่วมงานหัวขโมยได้คิดทบทวนความผิดพลาดของเขาไปอีกด้วย
แต่ถ้าไม่เกิดอะไรขึ้น คือเพื่อนมึงหน้าด้านมาก เฮีย Uzzi แนะนำให้ใช้อีกวิธีคือ พูดตรงๆ ไปเลยสัส เช่น เออ…กูสังเกตว่าตอนที่มึงนำเสนอผลงานอ่ะ พอถึงช่วงการขายไอเดียหลักทำไมมึงใช้คำว่า “ฉัน” แทนคำว่า “เรา” มึงตั้งใจพูดเพื่อขโมยไอเดียเปล่าวะ แล้วทำไมมึงถึงพูดไปแบบนั้นอ่ะ? ลองเอาไปใช้ถามตามเฮีย Uzzi ดูนะ
ส่วนพี่ Dillion ได้ให้แง่คิดว่า เป้าหมายไม่ใช้เครื่องมือในการปักป้ายเพื่อรอวันกล่าวหาใส่กัน แต่มันแสดงให้เห็นถึงนิสัยที่คุณต้องหมั่นสังเกตและไม่คิดว่าสิ่งทีเกิดขึ้นนั้นมันเป็นเรื่องที่ถูกต้องนัก
หัดแก้ไขสถานการณ์สิ
ทำไงก็ได้ให้มันเกิดความถูกต้องที่สวด! บางทีคนขโมยไอเดียอาจเขียนอีเมลไปแสดงความขอบคุณกับเพื่อนร่วมงานที่มีส่วนช่วยงาน หรือเดินไปบอกเจ้านายของคุณตรงๆ เลยว่าเกิดอะไรขึ้น แต่ถ้าเพื่อนที่ขโมยผลงานของคุณไม่คิดที่จะทำอะไรเลย พี่ Dillion แนะนำว่ามึงควรที่จะแสดงออกไปเลยว่าต้นน้ำทางความคิดที่เฉียบคมนี้มาจากกู! ด้วยการพูดกับคนอื่นๆ หรือเขียนคำอธิบายผ่านทางอีเมลเพื่ออธิบายคำตอบพร้อมรายละเอียดไปเลยจ้า เพื่อเป็นการสร้างพรรคสร้างพวกหรือพยานก่อนที่จะมีการประชุมอีกครั้ง
ทิ้งท้ายเฮีย Uzzi บอกว่ามึงควรมีวิธีการเข้าหาพรรคพวกด้วยการบอกเหตุผลไปว่า มึงงงานนี้กูทำงานหนักมากนะ มันจะแหล่มมากถ้าตอนอยู่ในห้องประชุมมึงถ้าอะไรบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับงานชิ้นนี้ เช่น วิธีคิดประเด็นกับงานชิ้นนี้แกคิดยังไงวะ! นี่เป็นการสร้างหลักฐานเพื่อยืนยันว่าไอเดียเด็ดชิ้นนี้มาจากกูไม่ใช่เพื่อนขี้ขโมย
ส่วนที่เหลือที่พี่ๆ เฮียๆ ทั้งสองแนะนำคือ การไปบอกเจ้านายคนแรกหรือเจ้านายคนที่สองโดยตรงไปเลยเพื่อให้พวกเขาไปตักเตือนกับสิ่งที่เกิดขึ้น แต่เอาจริงๆ ถ้าเจอเจ้านายขี้เกียจทำงานผ่านไปทีนี่เราก็อับจนหนทางเหมือนกันนะ
เป็นผู้กำกับปัญหาเองเสีย
ส่วนเฮีย Uzzi มีคำแนะนำเพื่อป้องกันเหตุการณ์ขโมยไอเดียซึ่งหน้าแบบนี้อีกวิธีคือ การแบ่งสัดส่วนการนำเสนอไปเลยว่าใครรับผิดชอบช่วงไหน เป็นเจ้าของไอเดียอะไร ซึ่งอันนี้ก็น่าสนใจในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบแบบชัดเจนไปเลย และขั้นตอนเหล่านั้นควรสร้างหลักฐานด้วยการเขียนอีเมลและแจกแจงไปให้เพื่อนร่วมทีมรับรู้ทั้งหมดยิ่งดี! หรือเอาให้ชัดอีกทีก็ทำ End Credit ช่วงท้ายสไลด์พรีเซ้นท์เหมือนภาพยนตร์ทั่วๆไป ก็เป็นอีกทางที่ชัดเจนดีสำหรับคนทำงานและการป้องกันหัวขโมยไอเดียประจำออฟฟิศจ้า
แต่ทางที่ดีผมขอเป็นตัวแทนคนทำงานหนัก กราบแทนเท้าคนขี้ขโมยเลยว่า อยากทำร้ายพวกเขาเลย พวกเขาสมควรได้รับคำชื่นชมและผลตอบแทนที่มีค่า แต่ถ้าคุยแล้ว ขอร้องแล้วไม่รู้เรื่อง ก็ไม่รู้ว่าจะทำยังไงล้าววววว
อ้างอิง: How to Respond When Someone Takes Credits for Your Work.

Podcaster : ออฟฟิศ 0.4
Writer : สิ่งที่เจ้านายไม่เคยบอก / เปิดเทอมใหญ่วัยทำงาน / เป็นคนที่ใช่ในงานที่ชอบ / นี่เงินเดือนหรือเงินทอน