หลายครั้งที่มีการสัมภาษณ์งานเพื่อรับสมัครสมาชิกใหม่เข้ามาสู่องค์กร
ปัญหาหลักที่เชื่อว่าหลายคนมักพบเจอ คือ บุคลิกและนิสัยในการทำงาน
ว่าจะเข้ากับวัฒนธรรมองค์กรได้หรือไม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายคนก็กังวล
ว่าต่อให้ได้คนเก่งเข้ามา แต่ถ้าเข้ากันไม่ได้ก็จะทำให้บรรยากาศแย่เอาเปล่าๆ
การคัดเลือกบุคลิกและนิสัยของพนักงานใหม่ที่จะเข้ามาทำงาน
จึงเป็นอีกหนึ่งอย่างที่เราละเลยไม่ได้เลย เพราะบางครั้งเราอาจเห็นดีเห็นงามจากข้อมูลที่เราอ่านบนเรซูเม่และจินตนาการว่าน่าจะเข้ากับแผนกและองค์กรได้มากจนเกินไป
ซึ่งอาจเกิดการ Bias โดยที่เราไม่รู้ตัว
เมื่อปัญหาเป็นแบบนี้การลงรายละเอียดให้กับพนักงานที่องค์กรต้องการมากยิ่งขึ้น
ก็คือการใส่รายรายละเอียดเรื่องบุคลิกและลักษณะนิสัยที่ชัดเจนไปพร้อมกับวัฒนธรรมองค์กร ที่จะช่วยกรองให้สอดคล้องกับการเปิดรับสมัครพนักงานใหม่มากยิ่งขึ้น และนั่นคืออีกหนึ่งกลยุทธ์การคัดคนที่ชื่อว่า Personality Hire
จริงๆ แล้วนั่นคือกระบวนการแรกเริ่มมากกว่า เพราะ Personality Hire นอกจากการดูความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่ผ่านเกณฑ์มาแล้ว รวมถึงการอ่านประเภทงานที่เคยผ่าน และวัฒนธรรมองค์กรที่ผู้สมัครเคยอยู่มา ก็พอจะทำให้ได้เบาะแสกับความสอดคล้องในที่ทำงานของเราไม่มากก็น้อย
แต่อีกหนึ่งจุดสำคัญในเชิงของ Personality Hire ก็คือการที่บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการคัดคนเข้าสู่องค์กร ไม่ว่าจะเป็น HR หรือ หัวหน้างานที่ต้องลงมาสัมภาษณ์เพื่อรับสมาชิกใหม่ในทีมเพิ่ม ก็จำเป็นจะต้องมีทักษะเชิง Personality Type ให้มากขึ้น แน่นอนนว่า ทักษะพวกนี้ อาจจำเป็นต้องขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่คลุกคลีกับการทำงานกับผู้คนที่หลากหลาย และเป็นนักสังเกต นักวิเคราะห์พฤติกรรมอยู่กลายๆ ด้วยเช่นกัน
เพราะทักษะเหล่านี้ จะส่งผลต่อการคัดเลือกตอนเจอหน้าสัมภาษณ์กัน และการตั้งคำถามระหว่างบรรทัด เพื่อเจาะลึกในการถามถึงมุมมอง ทัศนคติ และความคิดเห็นบางอย่างที่เกี่ยวข้องต่องานที่ต้องรับผิดชอบ ทีมที่ต้องทำงานด้วย และความเชื่อในวัฒนธรรมองค์กรในที่ทำงานนั่นเอง
.
อ้างอิง: http://bit.ly/3ILaYGi

Podcaster : ออฟฟิศ 0.4
Writer : สิ่งที่เจ้านายไม่เคยบอก / เปิดเทอมใหญ่วัยทำงาน / เป็นคนที่ใช่ในงานที่ชอบ / นี่เงินเดือนหรือเงินทอน