Turnover Tsunami เมื่อพนักงานกำลังลาออกจากการ Burnout

10 June 2022

ก่อนหน้านี้เราเคยได้ยินประเด็นของ The Great Resignation มาแล้ว หรือบางคนก็เรียกว่า Turnover Tsunami ก็คือ คนทยอยออกจากงานกันมากมายมหาศาล ซึ่งมันก็มีองค์ประกอบหลากหลายที่ก่อกันให้เกิดภาวะที่เรียกว่าการ Burnout ไม่ว่าจะเป็นการทำงานตลอดเวลา ความเครียดที่สั่งสมมาอยู่เรื่อยๆ จนบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านข้อมูลการทำงานอย่าง Gallup ได้มีการสำรวจกลุ่มตัวอย่างกว่า 20,000 รายพร้อมกับ 6 คำถามที่นำมาใช้เก็บข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ว่าระดับ Burnout ของแต่ละคนส่วนใหญ่อยู่ในระดับไหน มีความเสี่ยงหรือไม่ต่อการตัดสินใจลาออก และเราควรหลีกเลี่ยงกับภาวะนี้อย่างไร ซึ่งการหลีกเลี่ยงนี่คิดว่าน่าจะเป็นการบอกตัวองค์กรหรือบริษัทเองมากกว่า ว่าจะทำอย่างไรไม่ให้เกิด Turnover Tsunami

โดยทุกคนสามารถลองเข้าไปเช็คภาวะ Burnout ของตัวเองได้ที่ https://360learning.com/blog/burnout-quiz/#_viz-score

เมื่อกดเข้าไปแล้วก็จะมี Short Article ย่อมๆ เขียนถึงบริบทของโลกการทำงานในปีนี้ที่คนลาออกมากถึง 40%  โดยเฉพาะการเข้าสู่ยุคโควิด ซึ่งส่งผลต่อชีวิตและการทำงานที่เราทำงานกันหนักมากขึ้น จุดนั้นเองส่งผลต่อเรื่องแรงกายและแรงใจจนนำมาสู่ Burnout และการคำนวณคะแนนของภาวะ Burnout จากผู้เชี่ยวชาญ Leah Weiss ที่ออกแบบเครื่องมือให้เราเห็นกราฟและสกอร์กันชัดๆ ผ่าน 6 คำถามสำคัญที่เกริ่นไปช่วงต้นนั่นเอง

เมื่อกดคำตอบทุกข้อแล้ว ซึ่งข้อที่ควรประเมินให้ใกล้กับความรู้สึกมากที่สุดในมุมมองส่วนตัวของผมคือข้อ 5-6 ที่ต้องประเมินว่างานเรายุ่งแค่ไหน และเราเหนื่อยหน่ายกับงานระดับไหน ซึ่งเมื่อตอบครบทุกข้อแล้วตัวโปรแกรมจะคำนวณและสะท้อนข้อมูลออกมาตามภาพดังต่อไปนี้ครับ

ภาพแรกของผมคือได้ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 0.8 ซึ่งถือว่าอยู่ในสถานการณ์ที่ตึงเครียดมากๆ นั่นเอง

ข้อมูลของเราที่ตอบไปจะมีการนำไปเปรียบเทียบกับชุดข้อมูลกลุ่มตัวอย่างที่ถูกสอบถามมาแล้วกว่า 20,000 รายด้วย นอกจากนั้นก็มี Insight ด้านต่างๆ ที่มีการเก็บข้อมูลมาแชร์ให้เราเห็นภาพรวมด้วย ไม่ว่าจะเป็น เพศ ระดับการทำงาน เหตุผลการลาออก และอุตสาหกรรมที่ทำให้เกิดการ Burnout

หากใครอยากรู้รายละเอียดจากการทำ Burnout Risk ของ Quiz ตัวนี้ก็สามารถลองกดเข้าไปเทสและดูข้อมูลรายละเอียดพร้อมกับคำแนะนำให้แก่องค์กรและบริษัทต่อการปรับตัวและปรับใจให้แก่พนักงานเพื่อลดการเสี่ยงต่อภาวะ Burnout ไม่ว่าจะเป็นการรับฟังฟีดแบคเพื่อปรับปรุง การใช้ความยืดหยุ่นหลายๆ ด้านมาประยุกต์ใช้

และถึงแม้ว่าข้อมูลและผลสำรวจเหล่านี้จะเกิดขึ้นจากตะวันตกเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่จุดร่วมที่ใหญ่ไม่แพ้กันคือ คนทำงานคือมนุษย์เหมือนกัน ยังไงเรื่องจิตใจและความรู้สึกก็ยังอยู่ในจักรวาลเดียวกัน

อ้างอิง: https://www.fastcompany.com/…/workplace-burnout-quiz…

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *